ชื่อหน่วยงาน               คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

ประวัติความเป็นมาโดยย่อ

     พ.ศ. 2468 เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนประถมกสิกรรม จังหวัดมหาสารคาม

     พ.ศ. 2473 เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนประถมวิสามัญศึกษาและโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขั้นต่ำ โดยสังกัดหมวดเกษตรกรรม จัดสอนรายวิชาเกษตรกรรมในกลุ่มวิชาพื้นฐานของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา  (ป.กศ.)

     พ.ศ. 2510 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง)  วิชาเอกเกษตรกรรม

     พ.ศ. 2519 ยกฐานะเป็นภาควิชาเกษตรศาสตร์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยครูมหาสารคาม จัดการศึกษาทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลา เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (คบ.) โปรแกรมวิชาเกษตรกรรม

     พ.ศ. 2527 ภาควิชาเกษตรศาสตร์เปิดสอนสาขาวิชาชีพอื่นนอกจากวิชาชีพครู  ได้แก่  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์ โปรแกรมวิชาส่งเสริมและสื่อสารการเกษตร และสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคอาชีพ สาขาวิชาพืชศาสตร์ และสาขาวิชาสัตวบาล

     พ.ศ. 2532 ดำเนินการโครงการจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์

     พ.ศ. 2542 ยกฐานะเป็นคณะเทคโนโลยีการเกษตร สังกัดสถาบันราชภัฏมหาสารคาม มีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี  สาขาวิชาเกษตรศาสตร์  และสาขาวิชาสัตวบาล  สำนักงานคณะตั้งอยู่ริมห้วยคะคางฝั่งตะวันตกบนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่  ประกอบด้วยอาคารเรียน  แปลงปฏิบัติการด้านพืช  เรือนเพาะชำ  สถานที่ปฏิบัติการด้านประมง และฟาร์มปฏิบัติการด้านเลี้ยงสัตว์

          พ.ศ. 2546  ได้ย้ายสำนักงานคณะและจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเอก ณ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม  วิทยาเขตหนองโน  ตั้งอยู่ตำบลหนองโน  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ  15  กิโลเมตร 

          พ.ศ. 2547 ยกฐานะเป็นคณะเทคโนโลยีการเกษตร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

มีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี

          พ.ศ. 2548  ได้ย้ายกลับมาสำนักงานเดิม  เนื่องจากไม่สะดวกในการบริหารจัดการ  เนื่องจากยังขาดหอพัก  ห้องสมุด  โรงอาหาร  และสิ่งจำเป็นที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยของนักศึกษาในการเดินทาง  แต่ยังคงใช้ศูนย์หนองโนเป็นแหล่งจัดการเรียนการสอน  การวิจัย  และบริการวิชาการด้านเกษตรศาสตร์  เทคโนโลยีการผลิตพืช และสัตวศาสตร์

          พ.ศ. 2552 คณะเทคโนโลยีการเกษตร  พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน  โดยมีเป้าหมายให้จัดการเรียนการสอนแบบการนำเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจรมาใช้  โดยได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาต่างๆ จำนวน 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เทคนิคการสัตวแพทย์ และเทคโนโลยีการอาหาร และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตจำนวน 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

          พ.ศ. 2553 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้พัฒนาหลักสูตรและเปิดรับนักศึกษาเพิ่มเป็น 10 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สัตวศาสตร์ เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เทคนิคการสัตวแพทย์ เทคโนโลยีการอาหาร การพยาบาลสัตว์ เทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร และบริหารธุรกิจเกษตร และได้พัฒนาศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการแก่นักเรียน นักศึกษา บุคลากร นักวิชาการ เกษตรกร และบุคคลทั่วไป  และจัดสร้างคลินิกรักษาสัตว์  นอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารปฏิบัติการคณะเทคโนโลยีการเกษตร  ขนาด  9  ชั้น  เพื่อใช้ในการปฏิบัติการของคณะฯ 

          พ.ศ. 2555 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อใช้ปฏิบัติการเรียนการสอนของสาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร

          พ.ศ. 2556 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้ย้ายสำนักงานคณบดีมายังอาคารปฏิบัติการ 9 ชั้น (อาคาร 35) สำหรับการปฏิบัติงานหลักของสำนักงานคณะฯ การจัดการเรียนการสอน ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ห้องปฏิบัติการบริหารธุรกิจเกษตร  และปฏิบัติการด้านเทคนิคการสัตวแพทย์และการพยาบาลสัตว์  โดยดำเนินการเปิดโรงพยาบาลสัตว์เพื่อเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา  และบริการวิชาการแก่ชุมชน แต่ยังคงจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเอกยังที่ตั้งเดิม (อาคาร 18)  ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

          พ.ศ. 2557 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้รับงบประมาณ 8.5 ล้านบาท ในการจัดสร้างอาคาร

ปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์และธุรกิจการเกษตร เป็นอาคาร 3 ชั้น ใช้ปฏิบัติการเรียนการสอน ของสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร และงบประมาณเงินรายได้ จำนวน 570,000 บาท สร้างอาคารปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนามะละกอจังหวัดมหาสารคามและกลุ่มอีสานตอนกลาง ตั้งอยู่ริมห้วยคะคางใกล้กับอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์และสระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นโรงเรือนชั้นเดียว 3 หลัง ใช้สำหรับปฏิบัติการสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

          พ.ศ.  2559  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  ได้รับงบประมาณเงินรายได้  250,000  บาท  ในการจัดสร้างห้องปฏิบัติการจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ บริเวณชั้น  1  อาคาร  35  ใช้ปฏิบัติการเรียนการสอนและฝึกปฏิบัติของสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ

          พ.ศ. 2564 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้รับงบประมาณแผ่นดิน 3,410,000 บาท ในการปรับปรุงอาคาร ปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ใช้ปฏิบัติการเรียนการสอนและฝึกปฏิบัติของสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิชาประมง

          พ.ศ. 2565 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้รับงบประมาณแผ่นดิน 500,000 บาท ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2565 ในการจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ณ พื้นที่ว่างทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ที่ตั้ง   อาคาร 35 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม     44000     
โทรศัพท์ 0-4372-5439 
โทรสาร 0–4372–5439
เว็บไซต์ http://agt.rmu.ac.th